วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การเพาะเห็ดนางฟ้า

วัสดุอุปกรณ์ในการเพาะเห็ดนางฟ้า
1.วัสดุเพาะ เช่น ขี้เลื่อยไม้ยางพารา อาหารเสริม
2.แม่เชื้อเห็ดชนิดที่ต้องการ
3.ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 6 3/4 x 12 1/2 หรือ 8x12 นิ้ว
4.คอขวดพลาสติกเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 1/2 นิ้ว
5.สำลี ยางรัด
6.ถังนึ่งไม่อัดความดัน หรือหม้อนึ่งความดัน
8.โรงเรือนหรือที่บ่มเส้นใย
การเตรียมวัสดุเพาะจากขี้เลื่อยไม้ยางพารา
ส่วนมากจะใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา หรือขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณ หรือใช้ฟางข้าวก็ได้ ตามฟาร์มเห็ดทั่วไปแล้วเพื่อความสะดวกในการหมักและผสมวัสดุจึงนิยมใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ซึ่งเป็นขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อนและมีสารอาหารที่มีคุณค่าในการเพาะเห็ดมาก
อัตราส่วนในการผสมวัสดุอื่นๆ
ขี้เลื่อย 100 กิโลกรัม
รำละเอียด 6 กิโลกรัม
ปูนขาว 1 กิโลกรัม
ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม
ยิปซัม 0.2 กิโลกรัม
น้ำสะอาด 60-70 %
สูตรที่ 2
-ขี้เลื่อยไม้ยางพาราแห้ง 100 กิโลกรัม
-รำละเอียด 5 กิโลกรัม
-ยิปซัม 0.2 กิโลกรัม
-ปูนขาว 1 กิโลกรัม
-ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม
ปรับความชื้นของวัสดุเพาะประมาณ 60-65 % วัสดุทั้งหมดนี้สามารถปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสมได้เมื่อชั่งหรือตวงวัสดุทั้งหมดแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน และหมั่นตรวจดูความชื้นบ่อยๆ เพื่อไม่ให้วัสดุเปียกแฉะจนเกินไป ซึ่งจะทำให้มีผลในการทำให้เชื้อเห็ดไม่เดิน
วิธีการเตรียมวัสดุเพาะ
นำส่วนผสมดังกล่าวข้างต้น ผสมให้เข้ากันด้วยมือหรือเครื่องผสมแล้วปรับความชื้น 60-65 % โดยเติมน้ำพอประมาณ ใช้มือกำขี้เลื่อยบีบให้แน่น ถ้ามีน้ำซึมที่ง่ามมือแสดงว่าเปียกเกินไป (ให้เติมขี้เลื่อยแห้งเพิ่ม) ถ้าไม่มีน้ำซึมให้แบมือออก ขี้เลื่อยจะรวมกันเป็นก้อนแล้วแตกออก 2-3 ส่วน ถือว่าใช้ได้แต่ถ้าแบมือแล้วขี้เลื่อยไม่รวมตัวเป็นก้อน แสดงว่าแห้งไป ให้เติมน้ำเล็กน้อย
-บรรจุขี้เลื่อยใส่ถุงพลาสติกทนร้อน น้ำหนัก 8-10 ขีด
-กระแทกกับพื้นพอประมาณ และทุบให้แน่นพอประมาณ 2 ใน 3 ของถุง หรือใช้เครื่องอัดก้อนเห็ด ใส่คอขวด ปิดฝาด้วยฝาจุกแบบประหยัด
-นำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่ 100 องศาเซลเซียส 3 ชั่วโมง แล้วนำมาพักให้เย็นในที่สะอาด
-การใส่หัวเชื้อ
ลักษณะเชื้อเห็ดที่ดี
จะต้องไม่มีเชื้อราอื่นๆ เจือปน เช่น ราดำ ราเขียว ราส้ม ปนเปื้อน อยู่ในขวดเชื้อนั้น เพราะจะทำให้ถุงเพาะเชื้อเห็ดติดโรคราอื่นได้ โดยสังเกตเส้นใยของเชื้อเห็ดจะต้องมีเส้นใย สีขาวบริสุทธิ์และดินเต็มขวด
หัวเชื้อควรเลือกหัวเชื้อที่เจริญเต็มเมล็ดธัญพืชใหม่ๆเพราะเชื้อในระยะนี้กำลังแข็งแรงและเจริญเติบโตรวดเร็ว
สถานที่เขี่ยเชื้อเห็ด ควรเขี่ยในห้องที่สะอาดและสามารถป้องกันลมได้เพื่อช่วยลดเชื้อปลอมปน ทำให้เปอร์เซ็นต์ของก้อนเชื้อที่เสียต่ำลง
ในการเขี่ยเชื้อเห็ด ควรใช้ลวดแข็งๆ เผาไฟให้ร้อน ในถึงก้อนเชื้อประมาณ 15-20 เมล็ดแล้วปิดด้วยจุกสำลี เพื่อฆ่าเชื้อ แล้วกวนตีเมล็ดข้าวฟ่างให้ร่วน เพื่อสะดวกในการเทเมล็ดข้าวฟ่างลงในถึงก้อนเชื้อ
>ใส่หัวเชื้อเห็ดที่เลี้ยงบนเมล็ดข้าวฟ่างลงและปิดจุกไว้ตามเดิม
การทำให้เกิดดอกดูแลรักษาเห็ดนางฟ้า
ก่อนการเปิดดอกควรนำก้อนเชื้อเห็ดมาวางไว้ประมาณ 3-4 วัน เห็ดนางฟ้าจะเปิดถุง โดยเอาจุกสำลีออก นำก้อนไปเรียงซ้อนกัน จะใช้ชั้นไม่ไผ่ตัว A หรือชั้นแขวนพลาสติกก็ได้ รดน้ำ รักษาความชื้นให้มากในโรงเรือนให้มากกว่า 70 % วันละ 2-6ครั้ง ขึ้นอยู่กับ สภาพอากาศ โดยสเปรย์น้ำเป็นฝอย ระวังอย่ารดน้ำเข้าในถุง เพราะถุงจะเน่าและเสียเร็ว หลังจากบ่มเชื้อครบ30-35 วัน นำก้อนเชื้อเข้าสู่โรงเรือนเปิดดอก โดยแกะกระดาษเขี่ยข้าวฟ่างและสำลีออกให้หมด ทำความสะอาดพื้นโรงเรือนรดน้ำให้ชุ่ม วันละ 3 เวลา คือ เช้า เที่ยง เย็น เห็ดจะออกดอก ได้ดี ตัดแต่งตีนเห็ดก่อนนำไปจำหน่ายให้แม่ค้าในชุมชน

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การทำวิสกี้

วิสกี้
วิสกี้ (อังกฤษแบบสก๊อต: whisky/ อังกฤษแบบไอริช: whiskey) หมายถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หลายชนิด ที่กลั่นจากธัญพืชซึ่งหมักเอาไว้ แล้วเก็บรักษาไว้ในถังไม้ (ปกติจะเป็นถังไม้โอ๊ก) เป็นเวลานานหลายปี ยกเว้นวิสกี้ที่ทำจากข้าวโพดในสหรัฐอเมริกาที่ไม่จำเป็นต้องเก็บรักษาดังกล่าว ธัญพืชที่ใช้ทำวิสกี้มีทั้ง ข้าวบาร์เลย์ ข้าวมอลต์ ข้าวไรย์ ข้าวสาลี และข้าวโพด เป็นต้น
การทำวิสกี้
1.Malting เป็นขั้นตอนที่นำเมล็ดข้าว เช่น ข้าวบาร์เลย์มาทำให้ได้เป็นข้าวมอลท์(Malt) จะเรียกว่า บาร์เลย์มอลท์
2.Mashing เป็นขั้นตอนที่นำข้าวมอลท์ที่ได้มาบดให้ละเอียดและละลายต้มกับน้ำ ซึ่งสารละลายที่ได้ในขั้นตอนนี้เรียกว่า วอร์ต
3.Fenmenting เป็นขั้นตอนที่เติมเชื่อยีสต์ ลงในสารละลาย ปล่อยให้เกิดการหมักเพื่อให้ได้แอลกอฮอล์เกิดขึ้น
4.Distilling กลั่นให้ได้วิสกี้ที่ต้องการ
5.Maturing นำวิสกี้มาบ่มต่อในถังไม้โอ๊คให้มีรสชาติดีขึ้น
ประเภทของวิสกี้
1.Scotch Whisky ผลิตจากประเทศสกอตแลนด์ เป็นวิสกี้ที่นิยมดื่มกันมากที่สุด
2.American Whiskey ผลิตจากประเทศอเมริกา เรียกอีกอย่างว่า Bourbon
3.Irish Whiskey ผลิตจากประเทศไอร์แลนด์
4.Canadian Whiskey ผลิตจากประเทศแคนนาดา
สก๊อตวิสกี้แท้ที่เป็นเหล้าหลักจริงมีเพียง 2 ประเภทคือ
Malt Whisky (มอล์ทวิสกี้) เป็นวิสกี้สก๊อตที่หมักกลั่นจากวัตถุดิบประเภทข้าวบาร์เลย์ที่ถูกเพาะเป็น มอล์ทล้วน ๆ และถูกปรุงแต่งด้วยหัวเชื้อคอนเซนเตรต (Concentrate)
Grain Whisky (เกรนวิสกี้) เป็นสก๊อตวิสกี้ที่หมักกลั่นจากวัตถุดิบประเภทข้าวบาร์เลย์ที่เพาะเป็นมอล์ทส่วนหนึ่งนำ ไปผสมกับธัญญพืชอื่น ๆ
การทำสก๊อตวิสกี้
การทำสก๊อตวิสกี้ขั้นตอนในการผลิตก็เป็นไปตามลำดับขั้นตอนดังนี้
-การเพาะมอล์ท (Malting) คือขั้นตอนการนำข้าวบาร์เล่ย์ปเพาะให้งอกเป็นมอล์ท
-การบด การคลุก (Mashing) เป็นขั้นตอนต่อจากขั้นตอนที่ 1 โดยนำข้าวมอล์ทที่เพาะได้ไปทำการบดคลุก เพื่อผสมกับ...ส่วนวัตถุดิบอื่น ๆ ให้เข้ากัน
การหมัก (Fermentation) ขั้นตอนนี้แบ่งออกเป็น 2 วิธีการคือ
1. วิธีใช้กรดบังคับการแปรธาตุ แล้วใช้เชื้อช่วย
2. แบบใช้มอล์ทโดยอาศัยน้ำย่อยบังคับการแปรธาตุแล้ว ใช้เชื้อโมลด์ช่วยการหมักนี้เชื้อที่นำไปหมักจะเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลและ จากน้ำตาล เป็นแอลกอฮอล์
การกลั่น (Distillation) การกลั่นมี 2 แบบ คือการกลั่นครั้งเดียวต่อเนื่องออกมาเป็นสุราดีกรีสูง (Continous Still) และการกลั่นแบบสองครั้ง หรือแบบกลั่นทับ (Pot Still) การกลั่นเกรนวิสกี้จะใช้แบบต่อเนื่องหรือแบบทับก็ได้ แต่การกลั่นวิสกี้มอล์ทต้องใช้แบบกลั่นทับ หรือกลั่นแบบสองครั้ง เพื่อจะสงวนกลิ่นรสของข้าวมอล์ทไว้ การเก็บบ่ม (Ageing) หลักจากกลั่นแล้ว ก็ต้องทำน้ำเหล้าให้เหลือ 45-68 ดีกรีเพื่อนำไปเก็บบ่มในถังไม้โอ๊ก ซึ่งเนื้อไม้ในถังได้ถูกย่างไฟเป็นที่เรียบร้อยแล้วการเก็บบ่มในถังไม้โอ๊กนี้ จะทำให้น้ำเหล้ามีรสหอมและกลิ่นควันไฟจาง ๆ
การปรุงแต่ง ๆ (Blending) ถึอเป็นขั้นตอนที่สำคัญสุดยอดตอนหนึ่งของการผลิตเหล้า การปรุงเหล้าถือว่าเป็นศิลปะที่ล้ำลึกนักปรุงแต่งจะเฟ้นเหล้าที่เก็บบ่มได้คุณภาพมาผสมกันตาม...ส่วน เข้ากับหัวเชื้อต่าง ๆ ผู้ปรุงแต่งล้วนมีความช่ำชองในการคัดเลือกสุรามอล์ทสุราเกรนที่จะนำมาคละเคล้า โดยไม่เคยมีใครยอมเปิดเผย...ส่วนของการผสมให้ใครได้รู้
การบรรจุ ( Bottled) เป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อยที่จะนำเหล้าออกจำหน่ายซึ่งต้องอาศัยความสะอาดน้ำเหล้าที่บรรจุขวด เหล้าแล้วจะไม่มีโอกาสเปลี่ยนแปลงคุณภาพให้เป็นอื่นใดอีก เหล้าทั้งสองประเภทของสก๊อตมอล์ทวิสกี้ได้ชื่อว่าเป็นเหล้าที่ดีเลิศ เหนือชั้นกว่าเกรนวิสกี้ เพราะมีความละเมียดละไมกลมกล่อมกว่าเชื่อกันว่าแหล่งน้ำธรรมชาติที่ไหล ซึมผ่านลำเนาไพรและผ่านชะง่อนหินหลืบซอกที่อุดมด้วยแร่ธาตุล้วนมีส่วน อย่างมากที่บันดาลให้สก๊อตวิสกี้ทั้งสองเด่นผงาดเหนือวิสกี้อื่นใดในโลก ส่วนวิทยาการสมัยใหม่ในการหมักกลั่นเป็นเพียงองค์ประกอบที่เสริม ความละเมืยดละไมของเหล้าดังกล่าว
สก๊อตวิสกี้เมื่อหมักกลั่นและเก็บบ่มแล้วก่อนจะบรรจุขวดขายอย่างน้อย ต้องเก็บบ่ม 3 ปีขึ้น ไปถึง 5 ปี แต่การทำวิสกี้ใน ประเทศอื่น ๆ หลายแห่งได้มีกฏหมายของประเทศนั้น ๆ บังคับให้เก็บบ่มสุราที่จะทำวิสกี้ไว้ในถังไม้โอ๊กตั้งแต่ 3 ปี ถึง 5 ปี ซึ่งเป็นการกำหนดอายุของน้ำเหล้าที่เก็บบ่มให้เหมาะสมไม่อ่อน หรือแก่เกินไปแต่จำเพาะมอล์ทวิสกี้ ตำรายืนยันว่าควรเก็บบ่มตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป และไม่มีกำหนดอายุความแก่ ยิ่งเก็บบ่มนานเท่าใดก็ยิ่งดีรสเหล้าเท่านั้น กำเนิดอเมริกันวิสกี้
พูดได้เต็มปากเต็มคำไม่ต้องอายว่า อเมริกันวิสกี้เกิดมาพร้อมกับการกำเนิดชาติ อเมริกาคือเมื่อชาวอเมริกันเริ่มมีประเทศก็มีเหล้าวิสกี้โดยทันที จึงไม่ต้องไปสืบราวเรื่องให้ลำบากเหมือนชาติเก่าแก่อื่น ๆ ร้านขายเหล้าในยุคอเมิกันบุกเบิก มักถูกพวกคาวบอยเรียกว่า "ฮองกี้ท๊อกซาลูนส์" หรือร้านเหล้าเสียงห่านป่าร้องวิสกี้ยุคแรกที่ชาวอเมริกันดื่มกิน ได้แก่ "วิสกี้ดิบ" คำว่าวิสกี้ดิบคือวิสกี้ที่ยังไม่ได้ปรุงแต่ง รสชาติเรียกว่าพอต้มกลั่นจากเตาไฟก็หิ้วมาใส่ขวดขายได้เลยรสชาติทั้งกระด้าง ทั้งบาดคอ และ ขื่นขมสารพัด แต่คาวบอยทั้งหลายก็ถูกใจ

อัลบัมแสดงภาพจาก picasa

เจ้าแมวเหมียว
แมวไทย
ดอกไม้ฤดูหนาว
ดอกไม้ไทย

ปฏิทินกิจกรรม